แม่พิมพ์ซีเมนต์กระดูกสำหรับการรักษาการติดเชื้อของข้อเข่าเทียม
นักวิจัย  
ดร.ปัญญวัณ ลำเพาพงศ์
ผศ.นพ.มณฑล กาฬสีห์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1801000167 ยื่นคำขอวันที่ 22 ธันวาคม 2560
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
การผ่าตัดแก้ไขข้อเข่าเทียมติดเชื้อแบบ 2 ขั้นตอน (2-stage revision surgery) เป็นการรักษาการติดเชื้อเรื้อรังด้วยการใส่ซีเมนต์กระดูกผสมยาปฏิชีวนะเข้าไปแทนที่ข้อเข่าเทียมเดิมชั่วคราว (เรียกว่า knee spacer) ประมาณ 6-12 สัปดาห์ ก่อนแทนที่ด้วยข้อเทียมใหม่ ทั้งนี้ แม้มี knee spacer สำเร็จรูปและแม่พิมพ์จำหน่ายในต่างประเทศ แต่ไม่นิยมเนื่องจากราคาแพง ศัลยแพทย์จึงขึ้นรูปซีเมนต์กระดูกด้วยมือซึ่งมีงานวิจัยพบว่ารูปทรงมีผลต่อการรักษาและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย คณะผู้วิจัยจึงได้พัฒนาแม่พิมพ์สำหรับขึ้นรูปซีเมนต์กระดูกให้ได้รูปทรงคล้ายเข่าเทียมมากที่สุด ใช้งานสะดวก ราคาไม่แพง โดยได้ทดสอบแนวคิดตั้งต้นของต้นแบบผลิตภัณฑ์เรียบร้อยแล้ว
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
แม่พิมพ์ขึ้นรูปซีเมนต์กระดูกเพื่อใช้เป็นข้อเข่าเทียมชั่วคราวสำหรับการรักษาการติดเชื้อของข้อเข่าเทียม ถูกพัฒนาให้อยู่ในรูปแบบของชุดเครื่องมือที่ประกอบด้วยแม่พิมพ์สำหรับเข่าซ้ายและเข่าขวาจำนวน 3 ขนาด พร้อมอุปกรณ์เสริมการใช้งาน จุดเด่นคือสามารถขึ้นรูปซีเมนต์กระดูกเป็นรูปทรงคล้ายข้อเข่าเทียมมากที่สุด ทำให้ไม่ต้องทำการเข้าเฝือกผู้ป่วยในระหว่างการรักษาการติดเชื้อและผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวข้อเข่าเพื่อใช้ชีวิตประจำวันได้ นอกจากนี้ ยังเป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน ศัลยแพทย์สามารถเลือกใช้ชนิดและปริมาณยาตามที่ต้องการได้ และสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้หลังผ่านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นางสาวกนกวรรณ พรแก้ว
โทรศัพท์ 055-968728
โทรศัพท์มือถือ 061-6504954
Email pornkaewkp@gmail.com
อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยนเรศวร

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "แม่พิมพ์ซีเมนต์กระดูกสำหรับการรักษาการติดเชื้อของข้อเข่าเทียม"