ชุดทดสอบอะไมลอยด์บีตา (Amyloid beta test strip) เพื่อวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์
นักวิจัย  
ผศ.ดร.รินา ภัทรมานนท์ และคณะ
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 11461
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
โรคอัลไซเมอร์ มักพบในผู้ป่วยอายุ 65 ปีขึ้นไป โดยอาการระยะเริ่มต้นคือ สูญเสียความทรงจำ หลงลืม เครียด หงุดหงิดง่าย สูญเสียความสามารถด้านการสื่อสาร ไม่สามารถเข้าสังคมและประมวลผลความคิดได้ ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันด้วยตนเองได้ จำเป็นต้องอาศัยการดูแลจากผู้ใกล้ชิด และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โรคอัลไซเมอร์อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น อะไมลอยด์บีตา ซึ่งทำหน้าที่ในการเติบโตและระบบซ่อมแซมของเซลล์ประสาทที่ได้รับความเสียหายโดยเอนไซม์บีตาซีครีเทส (β-secretase) และแกมมาซีครีเทส (-secretase) เนื่องด้วยคุณสมบัติทางเคมีของเปปไทด์อะไมลอยด์บีตาจะเกิดการรวมตัวจับกันแน่นสะสมเป็นก้อน เรียกว่า พลัค (plaques) ทำให้เซลล์สมองสูญเสียการทำงานและมีการตายเป็นบริเวณกว้างจนสมองไม่สามารถประมวลผลหรือทำงานได้อย่าปกติ เปปไทด์อะไมลอยด์บีตานอกจากจะสะสมภายในสมองแล้วยังถูกปลดปล่อยเข้าสู่กระแสเลือดและถูกกำจัดออกจากร่างกายไปพร้อมกับปัสสาวะ ซึ่งสามารถใช้เป็นตัวชี้วัดสำหรับตรวจวิเคราะห์ คาดคะเนความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
วิธีการตรวจวิเคราะห์ปริมาณอะไมลอยด์บีตา มีหลายวิธี เช่น เทคนิคอีไลซา (ELISA; enzyme-linkd immunosorbent assay) แต่วิธีดังกล่าวต้องใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงและมีราคาแพง มีใช้เฉพาะโรงพยาบาลใหญ่ๆเท่านั้น และต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ผล ต่อมาได้มีการพัฒนาชุดตรวจชนิดแลทเทอรอลโฟลว์ (Lateral flow biosensor) ที่ประชาชนสามารถตรวจได้เองแบบที่ตรวจการตั้งครรภ์ แต่อุปกรณ์ทดสอบดังกล่าวยังไม่สามารถตรวจวิเคราะห์อะไมลอยด์บีตา เพื่อวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ในกระแสเลือดได้
ผู้ประดิษฐ์จึงได้ประดิษฐ์ ชุดทดสอบอะไมลอยด์บีตา (Amyloid beta test strip) เพื่อวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งประกอบด้วยแผ่นทดสอบอะไมลอยด์บีตา (Amyloid beta test strip) และชุดน้ำยา ซึ่งสามารถวิเคราะห์ปริมาณตัวอย่างอะไมลอยด์บีตาที่สามารถบ่งชี้ความเสี่ยงการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
พิชชานันท์ พงษ์พรรณากูล/ จินดาพร พลสูงเนิน/ พรรณรวี กบิลพัฒน์
โทรศัพท์ 043-202733 ต่อ -
โทรศัพท์มือถือ 086-4514455
Email pitcpo@kku.ac.th, chinph@kku.ac.th, panravee@kku.ac.th
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ชุดทดสอบอะไมลอยด์บีตา (Amyloid beta test strip) เพื่อวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์"