แคปซูลน้ำมันหอมระเหย จากสารสกัดสาหร่ายสีน้ำตาล |
นักวิจัย |
|
ผศ.ดร.พัฒทรา ธีรพิบูลย์เดช และคณะ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
น้ำมันหอมระเหย เป็นสารที่มีกลิ่นหอม สกัดได้จากส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ดอก เปลือกหรือใบ นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยไม่เพียงแต่ให้กลิ่นที่หอมเท่านั้น แต่มีผลต่อร่างกายในหลายๆอย่าง ขึ้นกับชนิดของน้ำมันหอมระเหย บางชนิดให้รู้สึกผ่อนคลาย บางชนิดกระตุ้นการหมุนเวียนโลหิต บางชนิดให้รู้สึกสดชื่น น้ำมันหอมระเหยแท้ 100% เป็นของเหลวที่มีราคาสูง ไม่เสถียรต่อแสงและออกซิเจน รวมถึงไม่สะดวกต่อการพกพาหรือใช้งานบางประเภท
งานวิจัยนี้ได้ปรับโฉมน้ำมันหอมระเหยให้อยู่ในรูปแบบของแคปซูลขนาดเล็กๆ กรรมวิธีการผลิตแคปซูลนี้แตกต่างจากแคปซูลเจลาตินที่ขายอยู่ทั่วไป เปลือกของแคปซูลเป็นสารสกัดจากสาหร่ายสีน้ำตาลที่ห่อหุ้มน้ำมันหอมระเหยไว้ภายใน เหมาะกับการใช้งานกับตะเกียงน้ำมันหอมระเหย โดยทั่วไปจะหยดน้ำมันหอมระเหยลงบนน้ำที่ให้ความร้อนโดยตะเกียง น้ำมันหอมระเหยจะระเหยหมดไปอย่างรวดเร็ว แต่น้ำมันหอมระเหยที่บรรจุในแคปซูลนี้ จะถูกปล่อยออกจากแคปซูลอย่างช้าๆ ให้กลิ่นได้ยาวนานมากกว่า นอกจากนี้แต่ละแคปซูลสามารถบรรจุน้ำมันหอมระเหยที่แตกต่างกันได้ ทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อน้ำมันหอมระเหยได้หลากหลาย และง่ายต่อการพกพา |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
สรุปเทคโนโลยี :
แคปซูลน้ำมันหอมระเหย เปลือกเป็นสารสกัดจากสาหร่ายสีน้ำตาลที่ห่อหุ้มน้ำมันหอมระเหยไว้ภายใน เป็นแคปซูลขนาดเล็กเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-7 มิลลิเมตร ใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างจากแคปซูลเจลาตินทั่วไป แคปซูลนี้ใช้เทคโนโลยีใหม่แต่ใช้เครื่องมือที่ราคาไม่แพง เพื่อสร้างรูปแบบใหม่ให้กับการใช้น้ำมันหอมระเหยในด้านต่างๆ
จุดเด่นของเทคโนโลยี
• สร้างรูปแบบใหม่ให้กับน้ำมันหอมระเหยในรูปแบบแคปซูลขนาดเล็กที่ง่ายต่อการใช้และพกพา
• เป็นแคปซูลอ่อนที่มีขนาดเล็กกว่าแคปซูลที่ขายทั่วไปในท้องตลาด
• เป็นแคปซูลที่ไม่ใช้ความร้อนในการขึ้นรูป
• เปลือกแคปซูลเป็นสารสกัดจากสาหร่ายไม่ใช่เจลาติน สามารถใช้เพื่อห่อหุ้มอาหารเสริมต่างๆ สำหรับผู้บริโภคฮาลาล มังสวิรัติ และผู้บริโภคที่มีอาการแพ้โปรตีนจากเจลาติน
• เหมาะสำหรับบรรจุสารที่ไม่ละลายน้ำและไม่เสถียรกับออกซิเจน เช่น น้ำมันหอมระเหย |
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
นางสาวจิรณัฐ สีนาคล้วน |
โทรศัพท์ |
022184195-7 ต่อ 109 |
โทรศัพท์มือถือ |
086-3361486 |
Email |
Jiranat.s@chula.ac.th |
สถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "แคปซูลน้ำมันหอมระเหย จากสารสกัดสาหร่ายสีน้ำตาล"
|
|