กระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพทางชีวภาพ เพื่อให้สารออกฤทธิ์ปริมาณสูงสำหรับกระเทียม |
นักวิจัย |
|
ศ.ดร.นงนุช เหมืองสิน
นางสาวอุฬาริกา ลือสกุล
นายศักดิ์ชัย หลักสี
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1803001114 ยื่นคำขอวันที่ 11 พฤษภาคม 2561 |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
กระบวนการสกัดสารออกฤทธิ์ในสมุนไพรโดยทั่วไป เป็นการสกัดสารด้วยตัวทำละลาย ต้องใช้ตัวทำละลายปริมาณมาก ใช้ความร้อนสูงเป็นเวลานาน และเป็นกระบวนการที่ยุ่งยาก โดยได้มีการใช้สารเคมีซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตและไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ปริมาณสารออกฤทธิ์ที่ได้จากการสกัดนั้นไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ปลูก สถานที่ปลูก ฤดูที่เก็บ หากปริมาณสารออกฤทธิ์ไม่เพียงพอจำเป็นต้องทำการสกัดซ้ำ ทำให้เสียเวลา และที่สำคัญคือในขั้นตอนการสกัดอาจสูญเสียสารสำคัญไป งานวิจัยนี้ได้มีการพัฒนากระบวนการที่สามารถทำให้กระเทียมมีปริมาณสารออกฤทธิ์ที่เพิ่มขึ้นจากกระเทียมสด ด้วยเทคโนโลยีที่ง่าย ไม่ต้องใช้สารเคมี ลดระยะเวลาการสกัด ซึ่งก็จะลดต้นทุน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
สรุปเทคโนโลยี :
กระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพทางชีวภาพของกระเทียมนี้ ใช้ความร้อนและความเย็นร่วมกัน โดยกระบวนการนี้ทำให้เกิดการยับยั้งการทำงานเอนไซม์อัลลิเนส (alliinase) ในกระเทียมสด ซึ่งเอนไซม์อัลลิเนสจะทำหน้าที่เปลี่ยนสารอัลลิอิน (alliin) ที่ไม่มีกลิ่นเหม็น เป็นสารอัลลิซิน (allicin) ที่มีกลิ่นเหม็น ดังนั้นจากกระบวนการนี้จะทำให้ได้กระเทียมไร้กลิ่น โดยยังคงมีสารออกฤทธิ์สำคัญในกระเทียมไว้ซึ่งได้แก่ อัลลิอินในปริมาณสูง สารออกฤทธิ์สำคัญนี้มีฤทธิ์ทางชีวภาพ เช่น ต้านมะเร็ง ต้านออกซิเดชัน ลดระดับไขมัน ลดความดันโลหิต อีกทั้งยังสามารถนำไปต่อยอดและประยุกต์ใช้งานกับผลิตภัณฑ์อาหารและสมุนไพรไทยเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าต่อไปในอนาคต
- จากกระบวนการนี้ทำให้ได้กระเทียมไร้กลิ่น และมีอัลลิอินในปริมาณสูง
- เป็นกระบวนการที่ง่าย สะดวก และรวดเร็ว
- เป็นกระบวนเคมีสีเขียว ไม่ต้องใช้สารเคมี เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
|
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
นางสาวจิรณัฐ สีนาคล้วน |
โทรศัพท์ |
02-218-4195-7 ต่อ 109 |
Email |
Jiranat.s@chula.ac.th |
สถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "กระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพทางชีวภาพ เพื่อให้สารออกฤทธิ์ปริมาณสูงสำหรับกระเทียม"
|
|