ผลิตภัณฑ์ผงนัว
นักวิจัย  
รศ.ดร.ชนินทร์ วะสีนนท์
ดร.ธนกร ราชพิลา และคณะ
มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
จังหวัดสกลนครถือได้ว่านอกจากจะเป็นแหล่งที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม มีความโดดเด่นด้านการเป็นที่ตั้งของประวัติศาสตร์ที่มีมายาวนาน เป็นที่ตั้งของวัดที่สำคัญมี พระเกจิอาจารย์ชื่อดังที่เป็นที่รู้จักของคนทั้งประเทศ ทางด้านทรัพยากรชีวภาพมีความอุดมสมบูรณ์เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศแบบภูเขาสูงสลับที่ราบลูกคลื่น มีแหล่งน้ำธรรมชาติและระบบชลประทานที่รองรับเกษตรกรรมอย่างเหมาะสม พืชหลายชนิดจึงมีการเจริญเติบโตให้ผลผลิตได้ดี และมีคุณสมบัติที่แตกต่างจากการเพาะปลูกในพื้นที่อื่น โดยเฉพาะพืชสมุนไพรท้องถิ่นที่หลากหลาย มีการวิถีการใช้ประโยชน์ตามแนวทางภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อบำรุงร่างการหรือบรรเทาโรคต่างๆ ผลิตภัณฑ์ผงนัวเกิดจากการนำสมุนไพรท้องถิ่นหลายชนิดมาผสมผสานจนเกิดรสชาติอร่อยกลมกล่อม นำมาใช้ปรุงอาหารให้มีรสชาติอร่อยกลมกล่อม เทียบได้กับการใช้สารโมโนโซเดียมกลูตาเมต(ผงชูรส)ในการปรุงแต่งรสชาติอาหารให้อร่อยกลมกล่อม ทั้งนี้ ถึงแม้จะมีการนำผงนัวมาใช้ปรุงรสอาหารแทนผงชูรสบ้างแล้ว แต่ยังมีปัญหาเรื่องกลิ่นไม่พึงประสงค์ของสมุนไพรบางชนิดที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ ด้วยเหตุนี้ การพัฒนาการแปรรูปสมุนไพรเป็นผงนัว ให้มีรสชาติอ
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
สรุปการพัฒนาผลิตภัณฑ์
ผงปรุงรสสมุนไพร (ผงนัว) ในอดีตเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานนำพืชผักบางชนิดมาใช้ปรุงอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติให้อร่อย เช่น นำใบหม่อน ใบน้อยหน่า มาใส่ต้มไก่ ต่อมาผู้นำพืชผักสมุนไพรหลายชนิดมาแปรรูปเพื่อใช้เป็นเครื่องปรุงรสเรียกว่า "ผงนัว" เก็บไว้ใช้ทำ ต้ม แกง ลาบ ก้อย และอาหารอื่นๆ ทำให้ใช้ได้สะดวกและสามารถเก็บไว้ได้นาน เนตรชนก จันทร์สว่าง (2554) พืชผักพื้นบ้านหลายชนิดสามารถนำมาปรุงรสอาหารและสามารถแปรรูปให้สะดวกในการใช้และเก็บไว้ได้นานนอกจากจะทำให้ยังมีรสชาติอาหารดีโดยไม่ต้องใส่ผงชูรส (MSG) ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค แล้วพืชผักเหล่านี้ยังมีสรรพคุณทางยา ดังนั้นการผลิตเครื่องปรุงรสจากพืชสมุนไพรซึ่งสามารถใช้แทน MSG จะไม่มีอันตรายแก่ผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคที่รักสุขภาพมีโอกาสได้ซื้อและใช้เครื่องปรุงรสที่ไม่มีอันตราย

ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ 100% ประกอบไปด้วยพืชสมุนไพรในท้องถิ่น มีสรรพคุณในการบำรุงสุขภาพและบรรเทาโรคบางชนิด มีปริมาณโซเดียมต่ำเหมาะสำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการควบคุมปริมาณโซเดียม และกลุ่มคุณแม่ที่ทำอาหารให้ลูกน้อยรับประทาน อีกทั้งเป็นผ
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นางสาววิจิตราภรณ์ ถนัดทาง
โทรศัพท์ 02-1411690
Email wichitraporn@bedo.or.th
สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ผลิตภัณฑ์ผงนัว"