ถ่านอัดแท่งจากวัชพืชและกรรมวิธีการผลิตถ่านอัดแท่ง |
นักวิจัย |
|
นางวรุณทิพย์ ฉัตรจุฑามณี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 10499 |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
ถ่านอัดแท่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำวัตถุดิบธรรมชาติ เช่น กะลามะพร้าว กะลาปาล์ม ซังข้าวโพดมาเผาจนเป็นถ่าน อาจนำมาบดเป็นผงหรือเม็ดแล้วอัดเป็นแท่ง หรือนำวัตถุดิบธรรมชาติ เช่น แกลบ ขี้เลื่อย มาอัดเป็นแท่ง แล้วจึงนำมาเผาเป็นถ่าน วัชพืช หมายถึงพืชที่ไม่ต้องการหรือพืชที่ขึ้นผิดที่ เมื่อขึ้นปะปนกับพืชที่เราปลูกจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผลผลิตลดลง เป็นเหตุให้ต้องหาวิธีการป้องกันกำจัดวัชพืชเหล่านั้น วัชพืชหลายชนิดที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ดังนั้นการนำวัชพืชมาใช้ประโยชน์ จึงเป็นการป้องกันกำจัดให้จำนวนของวัชพืชลดลงอีกทางหนึ่ง ประโยชน์ที่ได้จากวัชพืช ได้แก่ใช้เป็นอาหาร ใช้เป็นสมุนไพรและยากลางบ้าน ใช้ในงานหัตถกรรม ใช้เป็นตัวชี้บอกความอุดมสมบูรณ์ของดิน ฯลฯ
การทำถ่านอัดแท่งเป็นอาชีพที่สามารถส่งเสริมให้เป็นอุตสาหกรรมขนาดกลาง อุตสาหกรรมขนาดเล็กและอุตสาหกรรมภายในครัวเรือน เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี (กรมโรงงาน, 2545) |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
1. เป็นถ่านก้อนที่สามารถใช้ในการให้ความร้อน มีควันน้อย ให้ค่าความร้อนใกล้เคียงกับถ่านไม้
และมีค่าความชื้นน้อยกว่า 8 % ค่าความร้อนมากกว่า 5,000 cal/g มีระยะการเผาไหม้อยู่ในช่วง 60-90 min/kg
เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ของถ่านอัดแท่ง (มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 238/2547 )
2. เป็นเชื้อเพลิงทดแทนไม้ ไม่ต้องตัดไม้ทำลายป่า เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับวัชพืช
3. สามารถผลิตจำหน่ายได้ เนื่องจากกระบวนการไม่ยุ่งยาก
|
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีราคาเดียว |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
ผศ.ดร. วิชุดา กล้าเวช |
โทรศัพท์มือถือ |
062-1656415 |
Email |
wichudaklawech@gmail.com, unisearch.rmuti@gmail.com |
สถาบันบริการวิชาการแห่งมทร. อีสาน | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ถ่านอัดแท่งจากวัชพืชและกรรมวิธีการผลิตถ่านอัดแท่ง"
|
|