ผลิตภัณฑ์ขนาดอนุภาคนาโนรูปแบบนาโนอิมัลชันที่มีสารพิษผึ้งเป็นส่วนประกอบและกรรมวิธีการผลิต |
นักวิจัย |
|
1. รศ.ดร.ภาณุวรรณ จันทวรรณกูร
2. ผศ.ดร.ภญ.วรรธิดา ชัยญาณะ
3. ภญ.สุวิมล สมวงษ์อินทร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
พิษผึ้งเป็นสารที่ได้จากต่อมพิษของผึ้ง มีการนำมาใช้ประโยชน์กันอย่างแพร่หลายในทางการแพทย์ตั้งแต่อดีตกาล ซึ่งนำมาใช้ในการรักษาภาวะการอักเสบต่างๆได้แก่ โรครูมาตอยด์ (rheumatism) โรคข้อต่ออักเสบ (arthritis) โรคหลอดเลือดตีบ(sclerosis) และโรคมะเร็งในระบบต่างๆได้(Orsolic, 2012) ในปัจจุบันจึงมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับฤทธิ์ของสารสกัดพิษผึ้ง ซึ่งเน้นประโยชน์ในทางเครื่องสำอาง โดยมีการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดพิษผึ้ง (Sobral et al., 2016; Rekka et al., 1990) ในสารสกัดพิษผึ้งจะมีสารเมลิติน (melitin) เป็นองค์ประกอบหลักและเป็นสารสำคัญที่มีผลในการออกฤทธิ์ สารเมลิตินมีผลกระตุ้นการไหลเวียนของหลอดเลือดบริเวณที่ใช้ รวมทั้งมีผลกระตุ้นบริเวณนั้นให้เกิดการสร้างสารคอลลาเจนและอีลาสตินซึ่งเป็นสารที่มีความเกี่ยวข้องกับผิวหนังชั้นใน (dermis layer) ที่มีผลช่วยให้แลดูอ่อนเยาว์อย่างเป็นธรรมชาติ หรือเรียกได้ว่า สารสกัดพิษผึ้งเป็นสารสกัดที่ใช้เพื่อการชะลอวัยได้ (antiaging) (Han et al., 2013) อีกทั้งสารสกัดพิษผึ้งสามารถต้านการเกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นบนผิวหนัง อันมีสาเหตุมาจากการสัมผัสของแสงแดดเป็นระยะเวลานานๆ |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
ผลิตภัณฑ์ขนาดอนุภาคนาโนรูปแบบนาโนอิมัลชันที่มีพิษผึ้งเป็นองค์ประกอบและกรรมวิธีการผลิตตามการประดิษฐ์นี้ ประกอบด้วย วัฏภาคน้ำมัน ปริมาณร้อยละ 35 โดยน้ำหนัก สารละลายพิษผึ้ง ปริมาณร้อยละ 0.1-1 โดยน้ำหนัก และน้ำ แล้วนำไปผ่านกรรมวิธีการเตรียมโดยผ่านเครื่องปั่นผสมเป็นเนื้อเดียวกันด้วยความดันสูง ซึ่งได้ขนาดอนุภาค 100-200 นาโนเมตร ที่ใช้นำส่งสารสารพิษผึ้ง สำหรับใช้เป็นผลิตภัณฑ์เวชสำอางสำหรับทาภายนอกเพื่อบำรุงผิวหน้าและผิวกาย ใช้ในการต้านการเกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นบนผิวหนัง โดยผลิตภัณฑ์จะมีความคงตัวที่ดี และสามารถเข้าซึมผิวหนังได้อย่างมีประสิทธิภาพ จุดเด่นของเทคโนโลยีมีขนาดอนุภาคโมเลกุลที่เล็ก สามารถนำส่งสารสำคัญแทรกซึมเข้าผิวหนังได้ดี สามารถนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวเพื่อลดเรือนริ้วรอยบนผิวหนังได้ |
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ผลการทดลองระดับห้องปฏิบัติการได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นไปได้ |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
น.ส. ณัฐพร สาครวาสี |
โทรศัพท์มือถือ |
0862245466 |
Email |
licensing@step.cmu.ac.th |
อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU STeP) | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ผลิตภัณฑ์ขนาดอนุภาคนาโนรูปแบบนาโนอิมัลชันที่มีสารพิษผึ้งเป็นส่วนประกอบและกรรมวิธีการผลิต"
|
|