ระบบเครื่องรังวัด 3 มิติแบบง่าย ช่วยจัดทำแผนที่เสี่ยงดินถล่มระดับรายแปลง
นักวิจัย  
อาจารย์ปกรณ์ เข็มมงคล
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
จากเหตุการณ์ภัยพิบัติดินโคลนถล่มในพื้นที่อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2549 ทำให้ทรัพย์สิน พื้นที่ทำการเกษตรเสียหาย และมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะพื้นที่วนเกษตรทุเรียนพันธุ์หลงลับแล หลินลับแล ซึ่งตั้งอยู่บนแนวเทือกเขาสูงเสียงต่อการเกิดภัยพิบัติดินโคลนถล่ม ระบบเครื่องรังวัด 3 มิติแบบง่าย ช่วยจัดทำแผนที่เสี่ยงดินถล่มระดับรายแปลง ประกอบไปด้วยอุปกรณ์รังวัดระยะทาง มุมดิ่ง และมุมอาซิมุท รวมถึงแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโพน โดยเกษตรกรสามารถนำไปใช้รังวัดในพื้นที่ของตัวเอง แล้วป้อนข้อมูลลงในแอพพลิเคชั่นดังกล่าว ระบบจะทำการประมวลผล แสดงเป็นแผนที่ซึ่งสามารถเปิดดูได้จากแอพพลิเคชั่นและบราวเซอร์ทั่วไป เมื่อการรังวัดมีจำนวนมากขึ้นโดยเกษตรกรเครือข่าย ทำให้แผนที่ความเสี่ยงดินถล่มจะมีรายละเอียดแม่นยำมากขึ้นตามไปด้วย
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
- เครื่องมือมีกลไกการทำงานอย่างง่าย แต่สามารถรังวัดได้ละเอียดเพียงพอสำหรับการประมวลผลความลาดชันระดับพื้นที่รายแปลง อันเป็นปัจจัยที่สำคัญของความเสี่ยงดินถล่ม
- ราคาถูก ขนาดเล็ก เกษตรกรสามารถนำไปใช้รังวัดในพื้นที่สวนทุเรียนด้วยตัวเองเพียงคนเดียว อีกทั้งยังสร้างกลไกการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการตรวจสอบรังวัดความเสี่ยงดินถล่ม
- มีแอพพลิเคชั่นสร้างแผนที่เสี่ยงดินถล่ม ที่มีความละเอียดระดับรายแปลง แสดงผลออนไลน์บนพื้นที่ปลูกทุเรียนหลงลับแล หลินลับแล
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้ร่วมวิจัยพัฒนา
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นายสกลวัฒน์ กมลงาม
โทรศัพท์ 055416601 ต่อ 1376
โทรศัพท์มือถือ 0854029011
Email sakonwatkamolngam@gmail.com
อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ระบบเครื่องรังวัด 3 มิติแบบง่าย ช่วยจัดทำแผนที่เสี่ยงดินถล่มระดับรายแปลง"