การสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากกล้วยไม้สำหรับเป็นวัตถุดิบใหม่ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง : Cattleya Eau De Parfum |
นักวิจัย |
|
อาจารย์ฤทธิพันธ์ รุ่งเรือง หลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
ประเทศไทยมีกล้วยไม้ที่มีกลิ่นหอมหลากหลายชนิดที่สามารถนำมาสกัดสารหอมระเหยเพื่อใช้ในธุรกิจสปา เครื่องสำอาง สุคนธบำบัด หรือเป็นวัตถุดิบสำหรับทำน้ำหอมได้ เช่น ช้างกระ อุดรซัณไฌน์ หรือแคทลียาหว่าหยวน บิวตี้เพิลล์ ซึ่งกลิ่นหอมเหล่านี้ที่สกัดได้จากธรรมชาติพบน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ที่นำมาแต่งกลิ่นให้มีลักษณะคล้ายคลึงกัน กล้วยไม้แคทลียาหว่าหยวน บิวตี้เพิล
Cattleya sp. Lindl. (Rlc. Haw Yuan Moon X C. Mari's Song) เป็นกล้วยไม้พันธุ์ผสม ที่มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ ลักษณะดอกมีสีม่วงเข้ม อมเหลือง คณะผู้วิจัยจึงสนใจที่จะนำดอกกล้วยไม้ชนิดนี้มาสกัดสารให้กลิ่นด้วยวิธีกลั่นพร้อมสกัด (Simultaneous distillation extraction) ใช้หลักการกลั่นด้วยไอน้ำของตัวทําละลายอินทรีย์ การสกัดทําภายใต้ความดันเพื่อป้องกันการสูญเสียองค์ประกอบทางเคมีของกลิ่นเนื่องจากความร้อน สารที่ได้ยังคงให้กลิ่น และกลิ่นที่ได้คงความเป็นเอกลักษณ์ของกล้วยไม้ สามารถใช้เป็นสารหลักให้กลิ่นที่ในน้ำหอมได้ |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
กระบวนการสกัดน้ำมันหอมระเหยเพื่อให้ได้กลิ่นที่ยังคงเอกลักษณ์ของดอกกล้วยไม้ โดยใช้วิธีการกลั่นพร้อมสกัด เมื่อนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบของสารที่ให้กลิ่น ด้วยวิธี Dynamic headspace-solid phase microextraction gas chromatography mass spectrometer (DHS-SPMEGC-MS) พบสารที่เป็นองค์ประกอบหลัก คือ Cis-rose oxide ซึ่งให้แนวกลิ่น Green, Vegetative, Floral, Herbal พบสาร Indole (ให้แนวกลิ่น Pungent และ Floral) และพบสาร Benzyl alcohol (ให้แนวกลิ่น Floral, Rose, Phenolic, Balsamic) จากองค์ประกอบของสารให้กลิ่นที่พบในกล้วยไม้ชนิดนี้ สามารถนำมาใช้เป็นหัวน้ำหอม หรือสารหลักให้กลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ในน้ำหอมได้ |
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
ผศ.ดร.จิระ จิตสุภา |
โทรศัพท์มือถือ |
0-81300-2594 |
Email |
jirajitsupa@gmail.com |
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "การสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากกล้วยไม้สำหรับเป็นวัตถุดิบใหม่ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง : Cattleya Eau De Parfum"
|
|