สารผสมเนื้ออกไก่นุ่มและกระบวนการผลิต |
นักวิจัย |
|
รศ. ดร.พรรณจิรา วงศ์สวัสดิ์ ผศ. ดร.โชติกา วิริยะรัตนศักดิ์ และคณะ
คณะวิทยาศาสตร์ / สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1703001506 ยื่นคำขอวันที่ 15 สิงหาคม 2560 |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
ผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับผู้สูงวัยโดยทั่วไปมักมีลักษณะเป็นเจลลี่หรือของเหลวข้นซึ่งไม่ใช่รูปแบบอาหารที่ผู้บริโภคคุ้นเคย งานวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อกไก่นุ่มสำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัญหาด้านการเคี้ยวและกลืนโดยที่ตัวผลิตภัณฑ์ยังคงรูปเสมือนผลิตภัณฑ์เนื้ออกไก่ทั่วไป |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
ผลิตภัณฑ์อกไก่นุ่มสำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัญหาด้านการเคี้ยวและกลืนเป็นผลิตภัณฑ์เนื้อไก่ที่ผ่านกรรมวิธีพิเศษเพื่อให้ได้เนื้อไก่ที่ยังคงรูป และมีค่าเนื้อสัมผัสในระดับที่อ่อนนุ่มเทียบเท่ากับการบริโภคด้วยเหงือกตามเกณฑ์ของ Universal Design Food ของประเทศญี่ปุ่นและได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคที่มีอายุในช่วง 60-89 ปีว่าสามารถบดเคี้ยวได้ด้วยเหงือกหรือลิ้นกับเพดานปาก นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์อกไก่นุ่มสำหรับผู้สูงอายุนี้สามารถย่อยได้ง่าย ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์อกไก่นุ่มสามารถใช้เป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารที่สามารถปรุงรสได้ตรงตามที่ผู้บริโภคชื่นชอบ |
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
ดร.อมรรัตน์ วัฒนล้ำเลิศ , ดร.จีสุดา เกตุกราย , นางสาวดาริกา เอี่ยมจรูญ |
โทรศัพท์ |
02-470 9626 ต่อ - |
Email |
amornrat.wat@kmutt.ac.th, jeesuda.kea@kmutt.ac.th, darika.aie@kmutt.ac.th |
หน่วยงานถ่ายทอดเทคโนโลยี (TTO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "สารผสมเนื้ออกไก่นุ่มและกระบวนการผลิต"
|
|