พอลิเมอร์ชนิดดูดซึมได้คุณภาพสูงเกรดทางการแพทย์
นักวิจัย  
ผศ.ดร.วินิตา บุญโยดม
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 
สถานภาพสิทธิบัตร
สิทธิบัตร เลขที่ US 9,637,507 B2 (May 2017)
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
พอลิเมอร์ที่ดูดซึมได้ (Resorbable polymers) คือ พอลิเมอร์ที่สามารถสลายตัวได้โดยกระบวนการไฮโดรไลซิสโดยเอนไซม์หรือแบคทีเรีย ซึ่งพอลิเมอร์ชนิดดูดซึมได้ที่นิยมใช้ในทางการแพทย์ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอะลิฟาติก พอลิเอสเทอร์ (Aliphatic polyesters) สามารถแตกสลายตัวได้โดยง่ายและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการสลายตัวไม่เป็นพิษต่อร่างกาย ปัจจุบันมีการนำพอลิเมอร์มาใช้ในการผลิตวัสดุทางการแพทย์ที่ดูดซึมและย่อยสลายได้เองภายหลังที่ทำหน้าที่ตามที่ได้ออกแบบไว้เสร็จสิ้น ทำให้ไม่ต้องผ่าตัดซ้ำซ้อน อย่างไรก็ตามปัจจุบันวัสดุที่ดูดซึมได้ในทางการแพทย์นั้นยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาแพง จึงจำเป็นต้องผลักดันให้เกิดการผลิตวัสดุดูดซึมได้ในทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานรับรองและผลิตได้เองในประเทศเพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศ และในเชิงการแพทย์จะเป็นการช่วยยกระดับการวิจัยในทางการแพทย์ให้มีความหลากหลาย และช่วยให้การรักษาผู้ป่วยมีประสิทธิภาพ พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
“ห้องปฏิบัติการผลิตพลาสติกชีวภาพสำหรับใช้ทางการแพทย์” เป็นห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรอง ISO13485 (ระบบบริหารคุณภาพสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ Medical devices-Quality management systems - Requirements for regulatory purposes) จากบริษัท TÜV SÜD ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อผลิตและจำหน่ายเม็ดพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพเกรดทางการแพทย์ ดำเนินการในห้องสะอาด (cleanroom) ตามมาตรฐานระดับนานาชาติ คือ ASTM F1925-09 (Standard Specification for Semi-Crystalline Poly(lactide) Polymer and Copolymer Resins for Surgical Implants) ได้พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพลาสติกชีวภาพของประเทศไทยเองโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาใหม่ ตามสิทธิบัตรประเทศสหรัฐอเมริกา เลขที่ US 9,637,507 B2 (May 2017) ใช้วัตถุดิบชีวมวลที่เป็นพืชผลทางการเกษตร เช่น ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง เป็นวัตถุดิบตั้งต้นมูลค่าต่ำในประเทศ เม็ดพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพประเภทพอลิเอสเทอร์เกรดทางการแพทย์ที่สามารถผลิตได้ในห้องปฏิบัติการ ตัวอย่างเช่น พอลิ(แอล-แลคไทด์) (พีแอลแอล) และ พอลิ(แอล-แลคไทด์-โค-คาโปรแลคโทน) (พีแอลซี)
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นางสาวสิริรัตน์ สัจจสมบูรณ์
โทรศัพท์มือถือ 092-6571056
Email licensing@step.cmu.ac.th
อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU STeP)

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "พอลิเมอร์ชนิดดูดซึมได้คุณภาพสูงเกรดทางการแพทย์"