อุปกรณ์ วิธีการ และระบบสำหรับตรวจสอบ PM10 และ PM2.5 (The Apparatus Method and System for Monitoring PM10/PM2.5)
นักวิจัย  
นายอาทิตย์ ยาวุฑฒิ
ผศ.พิสิษฐ์ วิมลธนสิทธิ์ และคณะ



มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1801001149 ยื่นคำขอวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
อนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM10 และ PM2.5) ได้กลายเป็นปัญหาด้านสุขภาพอันดับแรกๆ ของโลกที่สร้างผลกระทบต่อสุขภาพของประชากรโลก มีการจัดทำเครื่องวัดฝุ่นละอองด้วยเทคโนโลยีต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่น เครื่องวัดระบบ Tapered Element Oscillating Microbalance (TEOM) ที่มีข้อดีกว่าระบบเบต้า (Beta Attenuation Monitors-BAM) รวมถึงมีเซ็นเซอร์วัดฝุ่นหลักการทางแสงที่มีคุณภาพ และยังสามารถเชื่อมโยงกับระบบ IOT แม้ว่าเซนเซอร์วัดฝุ่นหลักการทางแสงจะสามารถวัดฝุ่น PM10 และ 2.5 จากอากาศแวดล้อมได้ทันที แต่จะพบว่าเมื่อมีการใช้งานต่อเนื่องยาวนานแล้วจะทำให้เซ็นเซอร์วัดฝุ่นหลักการทางแสงมีอายุการใช้งานสั้นลงและมีความผิดพลาดในการวัดเกิดขึ้นได้ รวมถึงระบบการไหลของอากาศภายในที่ไม่มีการควบคุมให้คงที่และไม่มีระบบนำฝุ่นเข้ามาที่ตัวเซ็นเซอร์ ทำให้เป็นปัญหาในการใช้งานของเครื่องได้
ดังนั้น จึงเกิดการพัฒนาเครื่องวัดอนุภาคฝุ่นละออง PM10 PM2.5 และ PM1.0 ที่สามารถรายงานผลความหนาแน่นอนุภาพเชิงมวลหรือในหน่วยไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรอย่างต่อเนื่องได้ที่ตัวเครื่องวัดและรายงานผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เนตบนเครื่องคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนไ
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
อุปกรณ์ตรวจสอบฝุ่นละอองในอากาศ PM2.5 และ PM10 ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ใน US EPA ได้ และสามารถวัด PM1.0 เพื่อรองรับกับมาตรฐานในอนาคต ระบบการตรวจสอบฝุ่นละอองขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นเครื่องมือที่ทำงานได้ทั้งขณะติดตั้งอยู่กับที่และติดตั้งบนพาหนะที่เคลื่อนที่ได้ สามารถทำการวัดอนุภาคฝุ่นละอองในอากาศได้ต่อเนื่อง มีการรายงานผลการวัดเชิงมวลที่ตัวเครื่องมือและสามารถส่งข้อมูลการวัดผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนตไร้สายไปยังระบบฐานข้อมูลคลาวด์และสามารถแสดงผลการวัดบนเครื่องคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนได้ ระบบการวัดมีความยืดหยุ่นสามารถใช้กับเซ็นเซอร์วัดฝุ่นหลักการทางแสงหลากหลายผู้ผลิต ใช้อัตราการไหลอากาศต่ำกว่า 5 L/min ทำให้เหมาะสมกับปั๊มดูดอากาศขนาดเล็กที่มีเสียงรบกวนจากการทำงานที่เงียบกว่าระบบการวัดในปัจจุบัน
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้ร่วมวิจัยพัฒนา
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
สนใจสอบถามข้อมูล
นางสาวอารีวัณย์ อรุณสิทธิ์
โทรศัพท์ 053-921444 ต่อ 1120
โทรศัพท์มือถือ 081-6737929
Email a_asset@rmutl.ac.th
สำนักงานบริหารทรัพย์สินและสิทธิประโยชน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "อุปกรณ์ วิธีการ และระบบสำหรับตรวจสอบ PM10 และ PM2.5 (The Apparatus Method and System for Monitoring PM10/PM2.5)"