น้ำมันจระเข้ |
นักวิจัย |
|
นางสาวจุรีวรรณ รองศักดิ์ บริษัท ซีดีไอพี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 1603001176 |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
ทำไม จระเข้ถึงไม่เสียชีวิตจากแผลที่ติดเชื้อ จากการต่อสู้ และยังอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่ไม่สะอาด นี่คือคำถามจากวิทยาศาสตร์ที่สังเกตการณ์ดำเนินชิวิตของ จระเข้ และเมื่อลองเฝ้าสังเกตดูแล้ว บาดแผลที่เกิดขึ้นบนชั้นผิวหนังของจระเข้รักษาตัวเองได้อย่างรวดเร็วแล้วไม่มีรอยแผลเป็น จากการสังเกตครั้งนี้ จึงได้มีกาศึกษาอย่างจริงจัง โดยการนำไขมันของจระเข้มาวิเคราะห์ เพื่อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ และได้พบว่า น้ำมันจระเข้ที่สกัดออกมานั้น มีคุณสมบัติ ช่วยในการรักษาแผลสะเก็ด ให้หายเร็วขึ้นและไม่เป็นแผลเป็น ส่วนประกอบหลักๆที่มีอยู่ในน้ำมันจระเข้ คือ โอเมก้า-3, -6, และ -9 ซึ่งสามารถเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวหนังเมื่อลองสืบค้นดูแล้ว น้ำมันจระเข้ถูกใช้มานานแล้ว บางที่ อ้างว่า ครีโอพัตตรา ก็ยังใช้น้ำมันจระเข้เพื่อผิวที่สวยงามของนาง น้ำมันจระเข้ ที่นำมาใช้เพื่อ เพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิว ที่ แห้งแตก คัน แพ้ และ ช่วยในการรักษาแผลให้หายเร็วขึ้นและลดการเกิดแผลเป็น |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
ผลจากการศึกษาวิจัย พบว่าน้ำมันที่สกัดจากไขมันจระเข้ มีคุณสมบัติเด่นในด้านการบำรุงผิวพรรณ ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว ลดอาการอักเสบระคายเคือง จากผิวหนังที่แห้งกร้าน ขาดความชุ่มชื้น มีคุณสมบัติของเชื้อแบคทีเรียก่อโรค Staphylococcus aureus, Klebsiella pneumonia5 และลดการเจริญเติบโตเชื้อรา Candida albicans ได้อย่างมีนัยสำคัญสูงถึง 81.7%6 อีกทั้งสามารถช่วยสมานแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ให้หายได้เร็วขึ้น และมีส่วนช่วยกระตุ้นชั้นเซลล์ผิวใหม่และควบคุมเอนไซม์ในการสร้างชั้นผิวให้เป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ชั้นเซลล์ผิวใหม่มีการเรียงตัวที่เป็นระเบียบ ลดการเกิดรอยแผลเป็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนประกอบหลักๆที่มีอยู่ในน้ำมันจระเข้ คือ โอเมก้า (Omega) 3, 6, และ 9ซึ่งสามารถเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวหนังได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งมีองค์ประกอบของกรดไขมัน Palmitic Acid , Oleic Acid และ Linoleic Acid สูง |
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
บริษัท ซีดีไอพี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) |
โทรศัพท์ |
02 564 7200 ต่อ 5227/5229 |
โทรศัพท์มือถือ |
088 809 7536 |
Email |
innmanager.cdip@gmail.com |
CDIP (Thailand) PLC. | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "น้ำมันจระเข้"
|
|