ยีสต์แดงแบบผงแห้ง (Red yeast powder)
นักวิจัย  
ผศ.ดร.ทนงศักดิ์ ไชยาโส
ดร.อัจฉรา มะโนวัฒนา
คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
เซลล์ยีสต์สีแดง Sporidiobolus pararoseus ประกอบไปด้วยเบต้า-กลูแคน โปรตีน และแคโรทีนอยด์ (Manowattana et al., 2018) โดยจากการศึกษาของกนกทิพย์ และคณะ (2558) พบว่าการเสริมยีสต์สีแดง S. pararoseus ในรูปผงแห้งในอาหารสำหรับไก่ไข่จะทำให้สีของไข่แดงเข้มขึ้นและปริมาณคอเลสเตอรอลในไข่แดงลดต่ำลง ดังนั้นการนำยีสต์สีแดงในรูปผงแห้งมาใช้เป็นสารเสริมอาหารของไก่ไข่จึงเป็นแนวทางสำหรับการเพิ่มคุณภาพให้กับไข่ไก่และส่งเสริมการเจริญให้กับแม่ไก่ไข่ ทางทีมงานผู้วิจัยจึงได้มีการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการเพาะเลี้ยงยีสต์สีแดงในถังหมักที่ไม่ต้องใช้ใบกวนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยีสต์สีแดงในรูปผงแห้งด้วยการทำแห้งแบบพ่นฝอย ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ราคาถูก ง่าย สะดวก เหมาะกับการนำไปขยายขนาดเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ต่อไป
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
เทคโนโลยีการผลิตยีสต์แดงในรูปผงแห้ง ได้จากการเพาะเลี้ยงยีสต์สีแดงในอาหารที่เตรียมได้จากกลีเซอรอลดิบในถังหมักแบบอากาศยก (air lift fermentor) จากนั้นทำการเก็บเกี่ยวเซลล์และทำให้เป็นผงแห้งโดยใช้เครื่องทำแห้งแบบพ่นฝอย ทำให้ได้ยีสต์สีแดงในรูปผงแห้งที่มีแคโรทีนอยด์ในรูปของเบต้า-แคโรทีน และเบต้า-กลูแคน เป็นองค์ประกอบหลัก ทำให้เหมาะสมต่อการนำไปใช้เป็นสารเสริมอาหารสัตว์สำหรับสัตว์เศรษฐกิจต่าง ๆ เช่น ปลานิล ไก่ไข่ ปลาสวยงาม เป็นต้น
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นางสาวณัฐพร สาครวาสี
โทรศัพท์มือถือ 0862245466
Email licensing@step.cmu.ac.th
อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU STeP)

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ยีสต์แดงแบบผงแห้ง (Red yeast powder)"