การสังเคราะห์สารอินทรีย์เรืองแสงชนิดใหม่ (OLED)
นักวิจัย  
ดร.สมบุญ สหสิทธิวัฒน์
ดร.ธนศาสตร์ สุขศรีเมือง
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
นักวิจัยได้สังเคราะห์สารอินทรีย์เปล่งแสงชนิดใหม่ขึ้นมา ภายในห้องปฏิบัติการฟิสิกส์โพลิเมอร์ ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของเฮลิซีน ที่มีโมเลกุลและการไหลของอิเล็กตรอนภายในโมเลกุลเป็นไปอย่างสมมาตร ส่งผลให้สารที่สังเคราะห์ได้มีประสิทธิภาพในการเรืองแสงที่ดีมาก และด้วยโครงสร้างที่เป็น aromatic ทำให้มีสมบัติทางความร้อนที่ดี คือมีจุดหลอมเหลวและอุณหภูมิสลายตัวสูง สารอินทรีย์เรืองแสงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น ใช้เป็นเซ็นเซอร์โลหะหนัก ใช้เป็น marker สำหรับติดบนแอนติบอดี้ เพื่อใช้เป็นไบโอเซนเซอร์ ใช้เป็นสารเปล่งแสงในไดโอดเปล่งแสงจากสารอินทรีย์ หรือใช้เป็นชั้นสารกึ่งตัวนำในฟีลด์เอฟเฟคทรานซิสเตอร์จากสารอินทรีย์ เป็นต้น
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
- ตรวจจับและวิเคราะห์ด้วยความไวสูงเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียเฉพาะที่ได้
- มีควอนตัมยีลด์สูงให้ประสิทธิภาพในการเรืองแสงที่ดีมาก
- ให้คุณสมบัติทางความร้อนที่ดี มีจุดหลอมเหลวและอุณหภูมิสลายตัวสูง
- นำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย โดยเฉพาะการเป็น Sensor และ Marker

ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
โทรศัพท์ ต่อ 1617,1324
Email tlo-ipb@nstda.or.th
งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO)

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "การสังเคราะห์สารอินทรีย์เรืองแสงชนิดใหม่ (OLED)"