เครื่องมือใส่ปุ๋ย
นักวิจัย  
นายราชันย์ วงษ์ทวี
นายยุทธศาสตร์ คงชะสิงห์
นางสิริอร วงษ์ทวี
นางสาวสุทธินันท์ เจริญไวย์
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1803001683 ยื่นคำขอวันที่ 31 กรกฎาคม 2561
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
จากปัญหาการขาดแคลนแรงงานในการปลูกและใส่ปุ๋ยในไร่มันสำปะหลัง ซี่งปัจจุบันค่าแรงได้เพิ่มสูงขึ้นถึง 300 บาทต่อวันส่งผลกระทบต่อต้นทุนการปลูกมันสำปะหลัง ทางคณะผู้วิจัยได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลการปลูกมันสำปะหลังในจังหวัดกาฬสินธุ์เพื่อพัฒนาเครื่องมือทดแทนกระบวนการเดิมที่เกษตรกรมีวิธีการใส่ปุ๋ย 3 ขั้นตอนที่ต้องใช้แรงงานคน 3 คน ทำงานใส่ปุ๋ย
โดยจากผลการทดลองแปลงปลูกมันสำปะหลังในดิน 3 ชนิด คือ ดินทราย, ดินร่วน และดินร่วนปนทราย พบว่า วิธีการใส่ปุ๋ยแบบเดิมใช้จอบขุดใส่ปุ๋ยโดยจ้างแรงงาน 3 คน มีต้นทุนค่าจ้างแรงงานใส่ปุ๋ยเฉลี่ย 212.63 บาทต่อไร่ ใช้เวลาทำงานเฉลี่ย 1.89 ชั่วโมงต่อไร่
ทางคณะผู้วิจัยจึงได้พัฒนาเครื่องใส่ปุ๋ยแบบใหม่ที่ใช้แรงงานคน 1 คน มีต้นทุนค่าจ้างแรงงานเฉลี่ย 66.75 บาทต่อไร่ ใช้เวลาทำงานเฉลี่ย 1.78 ชั่วโมงต่อไร่ การใช้เครื่องมือใส่ปุ๋ยมีจุดคุ้มทุนที่ 2.57 ไร่ ถ้าเกษตรกรมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังมากกว่า 2.57 ไร่ ควรซื้อเครื่องมือใส่ปุ๋ยมาใช้ทำงานแทนการจ้างแรงงานคน 3 คน เพราะสามารถใช้แรงงานคนเพียง 1 คน ทำงานทดแทนได้ จึงช่วยลดค่าจ้างแรงงานลงได้มาก สามารถทำงานใส่ปุ๋ยต้นมันสำปะหลังได้ทั้ง
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
เครื่องมือใส่ปุ๋ยในไร่มันสำปะหลัง เพื่อใช้แก้ไขปัญหาค่าจ้างแรงงานภาคเกษตรสูงขึ้นเป็นวันละ 300 บาท เครื่องมือใส่ปุ๋ยมีการออกแบบให้สามารถปรับอัตราการปล่อยเม็ดปุ๋ยได้แม่นยำ 4 อัตรา คือครั้งละประมาณ 15 กรัม, 20กรัม, 25กรัม และ 30 กรัม มีความกะทัดรัด น้ำหนักเบา มีอุปกรณ์ป้องกันดินอุดตันที่ปากเจาะดิน มีเป้สะพายหลังบรรจุเม็ดปุ๋ยได้ประมาณ 15 – 20 กิโลกรัม เครื่องมือใส่ปุ๋ยช่วยลดต้นทุนค่าจ้างแรงงานใส่ปุ๋ยลงได้มาก เพื่อลดต้นทุนการปลูกมันสำปะหลังให้เกษตรกรในประเทศไทย

จุดเด่นของเทคโนโลยี
• เครื่องมือใส่ปุ๋ยในไร่มันสำปะหลัง มีความสะดวกรวดเร็วในการทำงานและลดค่าจ้างแรงงานคนลงได้ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการปลูกมันสำปะหลังลงได้
• การใช้งานเครื่องมือใส่ปุ๋ยมีต้นทุนค่าจ้างแรงงานคนเพียง 1 คนสามารถใช้เครื่องมือใส่ปุ๋ยทำงานใส่ปุ๋ยในไร่มันสำปะหลัง ซึ่งมีค่าจ้างถูกกว่าวิธีการใส่ปุ๋ยแบบเดิมที่ใช้จอบขุดใส่ปุ๋ยซึ่งต้องจ้างแรงงานถึง 3 คน
• เครื่องมือใส่ปุ๋ยสามารถประยุกต์ใช้กับพืชชนิดอื่นที่ปลูกเป็นระบบแถวได้ เช่น ข้าวโพด อ้อย สับปะรด กล้วย เป็นต้น
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
สนใจสอบถามข้อมูล
โทรศัพท์ 0 2564 7000 ต่อ 1617
Email tlo-ipb@nstda.or.th
งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO)

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "เครื่องมือใส่ปุ๋ย"