กระบวนการการแยกน้ำตาลคิวบราซิทอล (Quebrachitol) จากซีรั่มน้ำยางพารา |
นักวิจัย |
|
ผศ.ดร.วิไลรัตน์ ชีวะเศรษฐธรรม
นางสาวฐติมา รุจิราลัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1603002349 ยื่นคำขอวันที่ 15 พฤศจิกายน 2559 |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
น้ำตาลคิวบราชิทอลสามารถนำมาใช้ในการทดแทนน้ำตาลในการให้ความหวานได้ แต่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ จึงเหมาะกับผู้ป่วยซึ่งมีปัญหาด้านการบริโภคน้ำตาล เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน นอกจากนี้น้ำตาลคิวบราชิทอลยังเป็นน้ำตาลที่สามารถนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ จึงมีการคิดค้นวิธีการแยกน้ำตาลคิวบราชิทอลออกจากน้ำยางพารามาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามการประดิษฐ์ก่อนหน้านี้ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมามีการใช้เมทานอลหรือเอทานอลมีประสิทธิภาพในการละลายน้ำตาลคิวบราชิทอลได้ดีมาก แต่เนื่องจากเมทานอลหรือเอทานอลสามารถละลายในน้ำได้ดีมากด้วย ทำให้การแยกน้ำตาลคิวบราชิทอลออกจากชั้นเมทานอลหรือเอทานอล ต้องใช้กระบวนการที่มีต้นทุนสูงมาใช้ในการแยกน้ำตาลคิวบราชิทอลอีกขั้นหนึ่ง นอกจากนี้วิธีการก่อนหน้านี้ยังมีการให้ความร้อนต่อซีรัมหรือน้ำยาง ซึ่งหากปริมาณซีรัมหรือน้ำยางที่เกิดขึ้นในโรงงานแต่ละวันหลายพันหรือหมื่นลิตร ก็จะทำให้สิ้นเปลืองพลังงานสูงมาก
ความมุ่งหมายของงานวิจัยนี้คือเสนอวิธีแยกน้ำตาลคิวบราชิทอลจากซีรัมน้ำยางพาราที่ต้นทุนต่ำ ไม่ยุ่งยาก สามารถนำตัวทำละลายที่ใช้ในการสกัดกลับมาใช้ได้ใหม่ สามารถใช้ได้จริงในระดับอุตสาหกรรม |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
การประดิษฐ์นี้เกี่ยวข้องกับกระบวนการการแยกน้ำตาลคิวบราชิทอลจากซีรัมน้ำยางพาราหรือน้ำยางพารา ที่ประกอบด้วย (1) การผ่านซีรัมน้ำยางพาราหรือน้ำยางพาราลงในชั้นของบิวทานอลซึ่งจะทำให้น้ำตาลคิวบราชิทอลแยกออกจากซีรัมและส่วนน้ำจากซีรัมแยกชั้นกับตัวทำละลายบิวทานอลได้ภายในเวลาเดียวกันตามแรงโน้มถ่วงของโลก (2) การตั้งอุณหภูมิและความดันที่เหมาะสมของบิวทานอลในการละลายน้ำตาลคิวบราชิทอลออกจากซีรัมน้ำยางพาราหรือน้ำยางพารา (3) การแยกน้ำตาลคิวบราชิทอลออกจากตัวทำละลายบิวทานอล (4) การนำบิวทานอลกลับเข้าไปใช้ซ้ำอีกในกระบวนการแยกน้ำตาลคิวบราชิทอลจากน้ำ
น้ำตาลคิวบราชิทอล เป็นน้ำตาลทางเลือกใหม่ สกัดจาสารธรรมชาติ สามารถนำมาใช้ในการทดแทนน้ำตาลในการให้ความหวานได้ แต่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ จึงเหมาะกับผู้ป่วยซึ่งมีปัญหาด้านการบริโภคน้ำตาล เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เป็นต้น |
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ผลการทดลองระดับห้องปฏิบัติการได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นไปได้ |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
นายสิทานนท์ อมตเวทย์ |
โทรศัพท์มือถือ |
0909707099 |
Email |
sitanon.a@psu.ac.th |
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "กระบวนการการแยกน้ำตาลคิวบราซิทอล (Quebrachitol) จากซีรั่มน้ำยางพารา"
|
|