สูตรยางที่สามารถวัลคาไนซ์ได้ที่อุณหภูมิต่ำ
นักวิจัย  
ผศ.ดร.เอกวิภู กาลกรณ์สุรปราณี
ดร.วรศักดิ์ เพชรวโรทัย
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
 
สถานภาพสิทธิบัตร
สิทธิบัตร เลขที่ 9440
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ยางธรรมชาติมีคุณสมบัติเด่นหลายประการ อย่างไรก็ตามยางธรรมชาติที่ไม่ผ่านกระบวนการเชื่อมขวางจะไม่สามารถนำไปใช้งานเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆได้ เนื่องจากยางธรรมชาติจะเหนียวติดเมื่อได้รับความร้อน และแข็งเปราะเมื่ออุณหภูมิลดลง เพื่อให้ยางธรรมชาติสามารถใช้ได้ในช่วงอุณหภูมิที่กว้างขึ้น กระบวนการเชื่อมขวางจึงเป็นสิ่งสำคัญในการแปรรูปยาง อย่างไรก็ตามกระบวนการสร้างพันธะเชื่อมขวางด้วยวิธีปกติจำเป็นต้องใช้เครื่องจักร สารเคมีจำนวนมาก และอุณหภมิสูง เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ จึงสร้างการเชื่อมขวางให้กับยางธรรมชาติอย่างง่ายโดยใช้อุณหภูมิตำ่
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
สูตรยางที่สามารถวัลคาไนซ์ได้ที่อุณหภูมิต่ำ คือ เป็นการวัลคาไนซ์ยางแนวใหม่ ทำได้โดยการเติมสารเคมีเพียง 1 ชนิดผสมในน้ำยาง และยางเกิดการเชื่อมขวางได้ที่อุณหภูมิต่ำ สามารถขึ้นรูปได้ด้วยกระบวนการแบบหล่อ ทำให้กระบวนการแปรรูปมีต้นทุนต่ำ เนื่องจากไม่จำเป็นต้องมีเครื่องจักรหรือเบ้าพิมพ์ที่มีราคาแพง ระบบเดิมผู้ปฏิบัติงานไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องจักร จึงจำเป็นต้องใช้แรงงานที่มีทักษะสูง

ดังนั้นชุมชนสามารถแปรรูปผลิตภัณฑ์ได้เอง เช่น การผลิตพื้นยางอย่างง่ายได้ ซึ่งหากชุมชนสามารถนำเทคโนโลยีนี้ไปประยุกต์และแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางได้เองจะส่งผลโดยตรงต่อเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อีกประการหนึ่งด้วย
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นายสิทานนท์ อมตเวทย์
โทรศัพท์ 074289321
โทรศัพท์มือถือ 0909707099
Email sitanon.a@psu.ac.th
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "สูตรยางที่สามารถวัลคาไนซ์ได้ที่อุณหภูมิต่ำ"