นาโนคอมโพสิตชีวภาพของอนุพันธ์ไคโตซานและอนุพันธ์เซลลูโลสจากเปลือกสับปะรด |
นักวิจัย |
|
รศ.ดร.อำภา จิมไธสง
รศ.ดร.นิสากร แซ่วัน
นางสาวลักษณี วงค์คม สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 11980 |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
วัสดุคอมโพสิตเป็นวัสดุที่เกิดจากการผสมของพอลิเมอร์หรืออนุพันธ์ของพอลิเมอ์ต่างชนิดกัน เพื่อให้ได้คุณสมบัติใหม่ๆเพิ่มขึ้นและมีการใช้งานที่เป็นประโยชน์หลากหลายมากขึ้น จากการศึกษาและทดลองพบว่าสารสำคัญที่ใช้ในเครื่องสำอางคือสารที่ช่วยให้คุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ต่อผิวเฉพาะด้าน โดยมีการประยุกต์ใช้สารสำคัญในผลิตภัณฑ์เพื่อไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ผิวหนัง รวมทั้งมีการใช้กระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยผู้วิจัยได้นำเซลลูโลสจากสับปะรด ซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมและมีโครงสร้างที่เป็นกิ่งก้านสาขาแตกย่อยทำให้เกิดการเกี่ยวพันซึ่งก่อให้เกิดความเชื่อมโยงที่ดี ซึ่งทั้งไคโตซานและเซลลูโลสมีโครงสร้างทางเคมีที่คล้ายกัน ดังนั้นจึงมีแนวโน้มที่จะนำมาผสมกันเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติให้สามารถใช้งานได้หลากหลาย เป็นประโยชน์มากขึ้น |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
• นาโนคอมโพสิตของเซลลูโลสชนิดคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสจากเปลือกสับปะรด สามารถเตรียมได้จากการนำอนุพันธ์ไคโตซาน อนุพันธ์เซลลูโลสชนิดคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส
• ใช้เป็นตัวนำส่งสารสำคัญในเครื่องสำอางและยาที่มีความปลอดภัยต่อการนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
• ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางกันแดด |
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการทรัพย์สินทางปัญญา IP |
ส่วนจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรม สถาบันวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง MFii | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "นาโนคอมโพสิตชีวภาพของอนุพันธ์ไคโตซานและอนุพันธ์เซลลูโลสจากเปลือกสับปะรด"
|
|