เครื่องกรองน้ำดื่ม โดยใช้เซรามิกเมมเบรน
นักวิจัย  
ผศ.ดรุณี ผ่องสุวรรณ และคณะวิจัย
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 6029
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 6642
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 7339
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ในชีวิตประจำวัน คนเรามีความเสี่ยงต่อการนำสิ่งเจือปนในน้ำเข้าสู่ร่างกายผ่านทางการบริโภคอาหาร หรือดื่มน้ำที่มีสิ่งเจือปนเปื้อนอยู่ แม้แต่น้ำประปาทั่วๆ ไปที่ผ่านกรรมวิธีการบำบัดขั้นต้นจนได้น้ำที่มีคุณภาพ สามารถใช้เป็นน้ำอุปโภคและบริโภคได้ ส่งจ่ายโดยระบบท่อไปยังผู้ใช้น้ำซึ่งคุณภาพน้ำประปาอาจแตกต่างกันตามสภาพของน้ำดิบที่ใช้ทำน้ำประปาและกรรมวิธีการผลิต น้ำที่เห็นว่าใสแต่เมื่อผ่านระบบการกรองละเอียดจะพบคราบสีน้ำตาลเกาะตามท่อของไส้กรองซึ่งทำให้มีโอกาสพบสารปนเปื้อนหลายชนิดที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ และทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้ เชื้อโรคและสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายและมักพบในแหล่งน้ำทั่วไป คือ แบคทีเรีย (ที่ท่อน้ำประปา) โลหะหนักต่างๆ (ที่มาจากอุตสาหกรรมและระบบท่อน้ำเก่า เช่น ตะกั่ว กับทองแดง เป็นต้น) คลอรีน (ที่ใส่ในน้ำเพื่อฆ่าเชื้อโรค ในน้ำประปา) และ สารอินทรีย์ ที่เกิดมาจากการเจือจางของคลอรีนและสารปนเปื้อนอื่นในน้ำ หรือ ยาฆ่าแมลง ฮอร์โมน และสารตกค้างจากการใช้ยา การเลือกระบบกรองน้ำที่เหมาะกับการใช้งานจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
เครื่องกรองทั่วไปจะมีการใช้ท่อที่มีปริมาณมาก ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูง หรือเป็นระบบที่มีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากวัสดุที่ใช้ประกอบท่อกรองและท่อกรองหลังจากการใช้งานแล้วเกิดการอุดตันการทำความสะอาดยุ่งยากซึ่งโดยทั่วไปมักทำให้อุปกรณ์กรองน้ำขาดการดูแลรักษาอีกทั้งยังไม่สามารถบอกได้ว่าไส้กรองและสารกรองในอุปกรณ์ดังกล่าวนั้นใช้มานานเท่าใด
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
เครื่องกรองน้ำดื่มนี้ มีลักษณะพิเศษตรงที่ “ไส้กรองเซรามิก” ซึ่งมีส่วนผสมตามสูตรที่ได้พัฒนามาจากองค์ความรู้จากการวิจัยของนักวิจัย ทำให้มีความทนทาน มีอายุการใช้งานนาน 1 ปี - 1 ปีครึ่ง มีความละเอียดในการกรอง 0.3 ไมครอน สามารถกรองเชื้อโรคในน้ำ เช่น เชื้อจุลินทรีย์และแบคทีเรียบางชนิด และ “รูปแบบของไส้กรอง” ที่ถูกนำไปประกอบกับท่อ พีวีซี ทำให้ง่ายต่อการประกอบและทำความสะอาด โดยทั้ง “รูปแบบ” และ “สูตรส่วนผสมของเซรามิค” ที่นำมาทำไส้กรอง เครื่องกรองน้ำดื่มนี้ มีอยู่ 3 ชนิด คือ ชนิดท่อเดี่ยว ชนิด 2 ท่อ และ ชนิด 3 ท่อ โดยชนิดท่อเดี่ยว จะมีเฉพาะไส้กรองเซรามิกเป็นส่วนประกอบ ส่วนชนิด 2 ท่อ และ 3 ท่อนั้น จะเพิ่มสารกรองคาร์บอน เพื่อใช้กรองตะกอน กลิ่น สี คลอรีน สารอินทรีย์ และ สารกรองเรซิน เพื่อกรองหินปูน ลดความกระด้างในน้ำ และดูดซับสี สามารถกรองน้ำได้ประมาณ 30 ลิตร ต่อชั่วโมง สามารถใช้กรองคลอรีนและเชื้อโรคที่ติดมากับน้ำประปาเพื่อบริโภค ซึ่งทุกวันนี้ได้มีการนำไปใช้กรองน้ำดื่มประจำวันในภาวะปกติ แต่ไม่แนะนำให้ใช้กับน้ำเน่าเสีย ส่วนการใช้กับน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ ต้องขึ้นอยู่กับว่าน้ำนั้นมีสารที่เป็นโลหะหนักเจือปนมากน้อยเพียงใด
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
สนใจสอบถามข้อมูล
นายสิทานนท์ อมตเวทย์
โทรศัพท์ 074-28-9321, 09-0970-7099
Email sitanon.a@psu.ac.th
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "เครื่องกรองน้ำดื่ม โดยใช้เซรามิกเมมเบรน"