สารประกอบเชิงซ้อนเคอร์คูมิน |
นักวิจัย |
|
ผศ.ดร.นิสากร แซ่วัน
ผศ.ดร.อำภา จิมไธสง
ดร.กฤษฎา กิตติโกวิทธนา
นางสาวอนงค์นุช ต๊ะคำ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 10017 |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
สารคูเคอร์มินได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและยามาเป็นเวลานาน เนื่องจากมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยามากมาย ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง นำสารเคอร์คูมินมาใช้เป็นสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์เพื่อชะลอริ้วรอย ผลิตภัณฑ์ป้องกันสิว ผลิตภัณฑ์ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว และผลิตภัณฑ์เพื่อผิวกระจ่างใส เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมามีการศึกษาเกี่ยวกับสารประกอบเชิงซ้อนจากขมิ้นกับโพลิแซคคาไรด์ โดยสกัดสารออกฤทธิ์ เคอร์คูมินอยด์ จากขมิ้น ให้มีความเข้มข้นสูงแล้วนำไปกักเก็บในรูปของสารประกอบเชิงซ้อนกับโพลิแซคคาไรด์ และทำให้เป็นผลิตภัณฑ์ผงแห้ง จึงทำให้มีฤทธิ์ในการจับกับอนุมูลอิสระได้ดีขึ้น |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
• มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) สูงกว่าสารเคอร์คูมิน 2 เท่า
• มีฤทธิ์ในการรีดิวซ์โลหะไอออนสูงกว่าสารเคอร์คูมิน 4 เท่า
• มีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสสูงกว่าสารเคอร์คูมิน 2-3 เท่า
• พัฒนาให้สารสกัดมีความคงตัวสูงและคงประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ ซึ่งแตกต่างกับสารสกัดธรรมชาติทั่วไปที่มีความไวต่อแสงและความร้อน
|
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการทรัพย์สินทางปัญญา IP |
ส่วนจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรม สถาบันวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง MFii | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "สารประกอบเชิงซ้อนเคอร์คูมิน"
|
|