กรรมวิธีการสกัดพอลิแซ็กคาไรด์จากเห็ดฟาง |
นักวิจัย |
|
ดร.ภาณุพงษ์ ใจวุฒิ
ดร.ปัญญวัฒณ์ ปินตาทอง
นางสาวพัชรี พงษ์เสือ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 14829 |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
เห็ดมีคุณประโยชน์มากมายซึ่งส่วนประกอบทางเคมี ได้แก่ ปริมาณของโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต เส้นใย เกลือแร่ และวิตามิน ตลอดจนส่วนประกอบของกรดอะมิโนโปรตีนของเห็ด และยังมีฤทธิ์ทางชีวภาพมากมาย ทั้งต้านจุลินทรีย์ ต้านไวรัส ต้านมะเร็ง และต้านอนุมูลอิสระ ยกตัวอย่างเช่น เห็ดฟาง ที่สามารถช่วยลดการทำลายเม็ดเลือดแดง และเป็นเห็ดที่นิยมบริโภคกันมาก มีการนำเห็ดฟางไปใช้ประโยชน์ทางยา เนื่องจากเห็ดฟางมีพอลิแซ็กคาไรด์ที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเนื้องอก มีเลคตินที่มีฤทธิ์ปรับระบบภูมิคุ้มกัน และมีโปรตีนที่มีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกัน ด้วยประโยชน์ของเห็ดฟางที่มีปริมาณพอลิแซ็กคาไรด์มีประโยชน์ดังกล่าวข้างต้น ประกอบด้วยสามารถหาวัตถุดิบได้ง่าย ต้นทุนต่ำ ผู้วิจัยจึงมีความสนใจคิดค้นกรรมวิธีการสกัดพอลิแซ็กคาไรด์ที่เหมาะสมเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง อาหาร และยา หรืออุตสาหกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
• สารสกัดมีลักษณะเป็นผงสีน้ำตาล สามารถละลายน้ำได้
• มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ยับยั้งการสร้างไทโรซิเนส
• สามารถประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง อุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพได้เป็นอย่างดี
|
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการทรัพย์สินทางปัญญา IP |
ส่วนจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรม สถาบันวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง MFii | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "กรรมวิธีการสกัดพอลิแซ็กคาไรด์จากเห็ดฟาง"
|
|