ชาลำไยสด |
นักวิจัย |
|
ผศ.ชุติมา คงจรูญ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1903000355 ยื่นคำขอวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2562 |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
ปัญหาเรื่องลำไยไม่ได้คุณภาพหรือลำไยตกเกรด ทำให้เกษตรกรไม่สามารถจำหน่าย
ในราคาที่สูงได้ รวมทั้งไม่คุ้มค่าการจ้างเก็บ ในปัจจุบันมีการนำลำไยตกเกรดมาเพิ่มมูลค่าโดยการผลิตเป็นน้ำตาลไซรัปลำไย เครื่องดื่มสกัดลำไยเข้มข้น ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและช่วยยับยั้งสารก่อมะเร็ง ซึ่งเป็นสินค้าที่เข้าถึงผู้บริโภคได้เพียงบางกลุ่มเท่านั้น ทั้งนี้หากนำลำไยตกเกรดมาแปรรูปเป็นชาลำไยสดที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่มีอยู่ในเนื้อลำไย เช่น น้ำตาลกูลโคสฟรุกโตส และสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในกลุ่มของสารประกอบแทนนิน เช่น กรดแกลโลแทนนิน กรดเอลลาจิค ก็จะเป็นเครื่องดื่มเชิงหน้าที่ที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่า
|
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
1.ผลิตภัณฑ์ชาลำไยสดที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่มีอยู่ในเนื้อลำไย
2.เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่มีวัตถุดิบจากธรรมชาติ
3.มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง และอุดมไปด้วยสารโพลิฟีน
4.แคลอรี่ต่ำ ไม่มีน้ำตาล และไม่เติมสารกันบูด |
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
นางสาวบุษกร ก้อนทอง |
โทรศัพท์ |
02-5797435 ต่อ 3307 |
โทรศัพท์มือถือ |
086-0326506 |
Email |
bussagorn@arda.or.th |
สำนักส่งเสริมการใช้ประโยชน์ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ชาลำไยสด"
|
|