อาหารเสริมจากเลือดสุกร
นักวิจัย  
ดร.อารีย์ อินทร์นวล
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1903000220 ยื่นคำขอวันที่ 29 มกราคม 2562
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
การวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาวิธีการเตรียมโปรตีนฮีม (heme protein) จากเลือดสุกร โดยใช้สารละลายคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส เป็นสารตกตะกอน สามารถสกัดโปรตีนฮีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยหลักการการจับกันระหว่างประจุบวกบนโมเลกุลของโปรตีนโกลบินและประจุลบบนโมเลกุลของคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส หลังจากนั้นนำไปตกตะกอนพร้อมกันด้วยการหมุนเหวี่ยงด้วยความเร็วสูง ซึ่งสามารถสกัดโปรตีนฮีมได้ในรูปสารละลายคิดเป็น Protein recovery ที่ร้อยละ 55 และนำมาทำแห้งให้อยู่ในรูปของโปรตีนฮีมพาวเดอร์ (Protein heme powder) โดยวิธีทำแห้งแบบพ่นฝอย (Spray dry) ซึ่งมีอัตราการผลิตเฉลี่ย 10 กรัม/ลิตร/ชั่วโมงโดยโปรตีนฮีมพาวเดอร์มีปริมาณเหล็ก (Iron content) เท่ากับ 0.162 มิลลิกรัมต่อ 1 แคปซูลที่มีขนาดบรรจุ 0.1 กรัม และนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ที่มีธาตุเหล็กเป็นสารสำคัญ และใช้ทดแทนสารอิมัลซิไฟเออร์ (Emulsifier)
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
1) โปรตีนฮีมนี้สกัดมาจากเลือดสุกรซึ่งถือเป็นของเสีย (waste) จากโรงฆ่าสุกรที่มีอยู่ในปริมาณมากต่อวัน ดังนั้น โครงการวิจัยนี้จึงถือเป็นโครงการที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากของเสียและช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2) โปรตีนฮีมที่สกัดได้จากงานวิจัยนี้คุณลักษณะทางกายภาพที่ดี เป็นผงละเอียด สีน้ำตาลอ่อน ไม่มีกลิ่น และมีความสามารถในการละลายได้มากกว่าร้อยละ 60 ในสภาวะกรดอ่อนๆ (pH 4) จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารชนิดอื่นๆ ได้ง่าย
3) โปรตีนฮีมเป็นแหล่งธาตุเหล็กอินทรีย์ที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยมีปริมาณเหล็ก (Iron (Fe) content) สูงถึง 161.66 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม นอกจากนั้นโปรตีนที่เกาะอยู่กับหมู่ฮีมเป็นโปรตีนโกลบิน (Globin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสูงเพราะอุดมไปด้วยกรดอะมิโนจำเป็นโดยเฉพาะไลซีน ในปริมาณสูงจึงเหมาะแก่การนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแป้งสาลี เพราะแป้งสาลีมีกรดอะมิโนไลซีนต่ำมาก
4) ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่เสริมธาตุเหล็กที่พัฒนาจากงานวิจัยครั้งนี้ มีปริมาณธาตุเหล็กเหล็กสูงถึง 7 มิลลิกรัม/ก้อน
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นางสาวปาริชาต เข็มทอง
โทรศัพท์ 02 579 7435 ต่อ 3305
โทรศัพท์มือถือ 08 5066 0191
Email parichart@arda.or.th
สำนักส่งเสริมการใช้ประโยชน์ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "อาหารเสริมจากเลือดสุกร"