กรรมวิธีการผลิตสารเคลือบผิวผลไม้จากกล้วย |
นักวิจัย |
|
ผศ.ณัฐจรีย์ จิรัคคกุล คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์และวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 1803002529 |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
เนื่องจากกล้วยหอมมีการเปลี่ยนแปลงของการสุกอย่างรวดเร็ว ทำให้วางจำหน่ายไม่ได้นาน ในระหว่างการขนส่งและวางจำหน่ายนั้น กล้วยหอมจะมีการหายใจและผลิตก๊าซเอทิลีน หากเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหรือมากเกินไปจะก่อให้เกิดการเน่าเสียและไม่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค จึงมีการแก้ปัญหาด้วยการเคลือบด้วยฟิล์มหรือสารเคลือบเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา
ฟิล์มและสารเคลือบที่บริโภคได้ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารมาเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำและยืดอายุของผักและผลไม้มีอยู่หลากหลาย เช่น แป้งกล้วยน้ำว้าแต่ไม่เหมาะกับผักผลไม้ที่มีสภาพเป็นกลางหรือเป็นด่าง สารเคลือบผิวผลไม้จากบุกแต่ต้องใช้บุกในปริมาณมากและวิธีการผสมสารเคลือบมีความยุ่งยากซับซ้อน หากเป็นฟิล์มรับประทานได้จากกล้วยน้ำว้าแต่มีต้นทุนการผลิตสูง
ผู้ประดิษฐ์จึงได้พัฒนากรรมวิธีการผลิตสารเคลือบผิวผลไม้จากกล้วยที่มีวิธีการผลิตที่ง่ายและต้นทุนต่ำ โดยสามารถนำสารเคลือบผิวผลไม้จากกล้วยมายืดอายุการเก็บรักษาและชะลอการสุกของกล้วยหอมและผลไม้อื่น ๆ ได้ |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
- สามารถยืดอายุการเก็บรักษากล้วยหอมจากสภาวะควบคุมได้ 6 วัน ก่อนที่ลักษณะทางกายภาพของกล้วยหอมเปลี่ยนแปลง ซึ่งเก็บได้นานกว่ากล้วยหอมที่ห่อด้วยหนังสือพิมพ์/กล้วยหอมที่เคลือบด้วยสารแป้งกล้วยน้ำหว้า/กล้วยหอมที่เคลือบผิวด้วยสารดูดซับเอธิลีนที่สภาวะการเก็บรักษาแบบเดียวกัน
- ต้นทุนการผลิตต่ำ 150 บาท/กก. สามารถเพิ่มระยะเวลาการส่งออกและการวางจำหน่ายได้ โดยไม่มีสารเคมีหรือสารตกค้าง
|
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ |
|
 |
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
จินดาพร พลสูงเนิน |
โทรศัพท์มือถือ |
086-451-4455 |
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยขอนแก่น | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "กรรมวิธีการผลิตสารเคลือบผิวผลไม้จากกล้วย"
|
|