ไพลโลเพน ครีมบรรเทาอาการปวดด้วยนวัตกรรมนาโนอิมัลชัน |
นักวิจัย |
|
ศ.ดร.นงนุช เหมืองสิน
ดร.อุฬาริกา ลือสกุล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
ผลิตภัณฑ์สารสกัดไพลบรรเทาอาการปวดที่ผ่านการเตรียมด้วยนวัตกรรมนาโนอิมัลชันระบบใหม่ โดยเตรียมเป็นนาโนอิมัลชันทุติภูมิ (secondary emulsion) โดยมีพอลิเมอร์ชีวภาพประจุบวกเป็นตัวห่อหุ้ม เช่น ไคติน ไคโตซาน เจลลาติน ส่งผลให้เพิ่มความเสถียรของอนุภาค อนุภาคมีขนาดเล็กและการดัดแปรประจุบนผิวของอิมัลชันให้มีประจุบวก อีกทั้งยังเพิ่มฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดไพล เช่น ฤทธิ์การต้านอักเสบ ฤทธิ์การต้านมะเร็ง การซึมผ่านผิวหนัง เป็นต้น นอกจากนี้พอลิเมอร์ชีวภาพเหล่านี้ยังช่วยยึดติดเยื่อเมือกทำให้ออกฤทธิ์เฉพาะที่ได้นานยิ่งขึ้น ดังนั้นการพัฒนานวัตกรรมนาโนอิมัลชันระบบใหม่นี้เป็นมีความน่าสนใจ มีความเป็นไปได้ในการใช้ที่จะใช้เป็นระบบต้นแบบสำหรับประยุกต์ใช้กับสารสกัดสมุนไพลชนิดอื่น ๆ ต่อไป |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
- มีความเสถียรสูง คงไว้ซึ่งสารออกฤทธิ์สำคัญทางชีวภาพของไพล
- ได้อนุภาคขนาดเล็ก ซึมผ่านผิวหนังได้ง่ายและเพิ่มฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดไพล
- ได้อนุภาคที่มีประจุบวก เพิ่มความเสถียรและเพิ่มฤทธิ์ทางชีวภาพเพิ่มฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดไพล
- พอลิเมอร์ที่ห่อหุ้มผิวมีคุณสมบัติยึดติดเยื่อเมือก ทำให้ออกฤทธิ์เฉพาะที่ได้นานยิ่งขึ้น
|
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ |
โทรศัพท์ |
02-218-4195-7 ต่อ 109 |
Email |
Jiranat.s@chula.ac.th |
สถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ไพลโลเพน ครีมบรรเทาอาการปวดด้วยนวัตกรรมนาโนอิมัลชัน"
|
|