สูตรไอศกรีมผสมผงไหมและกรรมวิธีผลิตตามสูตรดังกล่าว
นักวิจัย  
นางบุญญา สุดาทิศ และคณะ
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 4843
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ในกระบวนการผลิตไอศกรีมตามปกติ ผู้ผลิตโดยทั่วไปจะนำสารช่วยให้เนื้อไอศกรีมคงรูปมาเติมลงไปในเนื้อไอศกรีมหรือสารที่เรียกหรือรู้จักกันดีในนามสาร อีมัลซิไฟออร์ ซึ่งมีหลายตัว แต่ที่นิยมใช้กับส่วนผสมกับอาหารประเภทไอศกรีมนั้นคือ คาร์บอกซ์ซี่เมธิว เซลลูโลส หรือชื่อย่อว่า CMC ซึ่งเป็นสารที่ได้จากการสังเคราะห์สารประกอบ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ
1. กลุ่มเจลาติน (Gelatin Stabilizer) ซึ่งจะผลิตจากสัตว์ เช่น จากหนังหมู หนังวัว กระดูกสัตว์
2. กลุ่มจากผัก (Vegetable Stabilizer) เช่น Sodium alginate, Carrageenan, Agar-Agar, CMC (Sodium Carboxy methyl cellulose)
3. กลุ่มพวกกัม (Gums) เช่น Guar, Locust bean, Tragacanth, Karaya, Oat ซึ่งหากเติมสารดังกล่าวนี้ลงไปในอัตราส่วนและปริมาณที่พอเหมาะจะสามารถช่วยให้ไอศกรีมมีความหนืด คงรูปไม่เหลวละลายเร็วจนเกินไป แต่สารดังกล่าวนี้ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการเลย การประดิษฐ์นี้จึงได้คิดค้นนำผงไหมอันสารประกอบอินทรีย์อื่นๆที่เป็นสารช่วยให้เนื้อไอศกรีมมีความคงรูปเช่นเดียวกันและมีคุณค่าทางโภชนาการด้วยเนื่องจากผงไหมที่เติมลงไปแทนที่สารอีมัลซิไฟออร์ดังกล่าวจะเพิ่มปริมาณโปรตีนในส่วนที่นมผงไม่มีอีกด้วย
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
เป็นสูตรสำหรับการผลิตไอศกรีมซึ่งนำผงไหมมาผสมลงในเนื้อของส่วนผสมไอศกรีมเพื่อให้ไอศกรีมคงรูปแทนการใส่สารอีมัลซิไฟออร์อื่นๆ โดยผสมในอัตราส่วนตามสูตรที่กำหนดโดยเนื้อไอศกรีมที่ใช้ผงไหมเป็นสารให้ความคงรูปซึ่งจะทำให้ลักษณะปรากฎที่ดีกว่าและตักง่ายกว่าไอศกรีมที่ใช้ CMC (Carboxy methyl cellulose)
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
สนใจสอบถามข้อมูล
คุณวาทิน ชินางกูรภิวัฒน์
โทรศัพท์ 02-401-9889 ต่อ 5918, 5933
โทรศัพท์มือถือ 061-412-2836
Email watinc@tint.or.th
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน)

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "สูตรไอศกรีมผสมผงไหมและกรรมวิธีผลิตตามสูตรดังกล่าว"