โครงร่างทดแทนกระดูกชนิดสลายตัวได้เพื่อรักษาการสูญเสียกระดูกขากรรไกรและใบหน้า
นักวิจัย  
ผศ.ดร.ทพ.ณัฐวุฒิ เทือกสุบรรณ
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1603001155 ยื่นคำขอวันที่ 24 มิถุนายน 2559
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
โครงร่างทดแทนกระดูกชนิดสลายตัวได้เพื่อรักษาการสูญเสียกระดูกขากรรไกรและใบหน้า ใช้หลักการผลิตโครงร่างด้วยวิธีการ MSMD และ MSCM จะใช้วิธีการหลอมผสม (Melt-blending) ซึ่งถือเป็นวิธีที่สะอาด และหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีในขั้นตอนการผลิต

โดยมีขั้นตอนคือนำเส้นใยเดี่ยวมาทำการขึ้นรูปเป็นโครงร่างสามมิติ โดยการกดในเบ้าหล่อแก้วเพื่อให้เส้นมีการเรียงตัวเป็นลักษณะโครงร่างสามมิติ จากนั้นนำไปจุ่มลงในน้ำอุ่นเพื่อให้จุดสัมผัสของเส้นเชื่อมยึดติดกันโครงร่างที่ผลิตจากทั้งสองวิธีนี้ ได้รับการทดสอบคุณสมบัติทั้งในห้องปฏิบัติการ ในสัตว์ทดลองและในผู้ป่วยจริงแล้วว่า มีความเข้ากันได้ทางชีวภาพ และ สามารถทำให้เกิดการสร้างกระดูกใหม่ ได้เป็นอย่างดี
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
โครงร่าง MSMD สามารถนำไปใช้ทดแทนการสูญเสียกระดูกช่องปาก และใบหน้าได้ในหลายบริเวณ โดยโครงร่างชั้นเดี่ยวสามารถใช้ทดแทนกระดูกบริเวณพื้นกระบอกตา (floor of orbit) และ ผนังของโพรงอากาศไซนัส (sinus wall) นอกจากนั้นยังสามารถทำหน้าที่เป็นตระแกรงกั้น (mesh tray) เพื่อคงสภาพของวัสดุทดแทนกระดูกชนิดผงแบบอื่น ๆ ได้
ส่วนโครงร่างแบบสามมิติก็สามารถขึ้นรูป และตัดแต่งได้หลายแบบ เพื่อให้พอดีกับขนาดของกระดูกที่สูญเสียไปในบริเวณต่าง ๆ

โครงร่าง MSCM สามารถขึ้นรูปได้ในระหว่างการผ่าตัด จึงเหมาะสำหรับหัตถการที่ต้องการความรวดเร็วในการใช้งาน เช่น การใส่โครงร่างเข้าไปในเบ้าฟันภายหลังการถอนฟันทันที เพื่อชะลอการละลายตัวของกระดูกเบ้าฟัน (socket preservation) ก่อนการใส่ฟัน
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นายสิทานนท์ อมตเวทย์
โทรศัพท์ 074289321
โทรศัพท์มือถือ 0909707099
Email sitanon.a@psu.ac.th
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "โครงร่างทดแทนกระดูกชนิดสลายตัวได้เพื่อรักษาการสูญเสียกระดูกขากรรไกรและใบหน้า"